Welcome - ยินดีต้อนรับ

เลือกหัวข้อที่ท่านต้องการอ่านได้ทางเมนูด้านขวา
Please choose title on the right side menu


 ผู้จัดทำ

นักเรียนโรงเรียนทวีธาภิเศก ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1

นาย อติชาต  ประดิษฐเวคิน  เลขที่ 13

นาย นิธิวัฒน์  นาคสกุล  เลขที่ 25
 
นาย ณัฐนันท์  สุพัฒนาภรณ์  เลขที่ 28

นาย ก้องเขต  ปี่เสนาะ  เลขที่ 30

นาย ชลิตพล  เฉลยภาพ  เลขที่ 36

นาย  สุกฤษฏิ์  เจียมจรุงยงศ์  เลขที่ 38

นาย  ภาณุพงศ์  ช่อระกำ  เลขที่ 39

นาย  ประวิทย์  วณิชย์วิวรรธน์  เลขที่ 41

นาย  ศุภกร  เคนานัน  เลขที่ 45

นาย  ภัทรพงษ์  พูลทอง  เลขที่ 47

Bibliography - แหล่งอ้างอิง



ปัจจัยในการตั้งอาณาจักร


ความเป็นมาของพระเจ้าอู่ทอง  


ข้อมูลทั่วไป 

นิทานนายแสนปม



Story - ตำนานท้าวแสนปม



นิทานนายแสนปม (นิทานเกี่ยวกับที่มาของพระเจ้าอู่ทอง)


กาลครั้งหนึ่งในสมัยที่ไทยยังตกอยู่ภายใต้อำนาจของขอม มีกษัตริย์ไทยพระนามว่า เจ้าพรหม พระองค์คอยที่จะกอบกู้อิสรภาพให้คนไทยพ้นจากอำนาจขอม ต่อมาอาณาจักรขอมเริ่มอ่อนแอลง เพราะมีชีวิตที่สะดวกสบายมานานและประมาทคนไทย
 เพื่อปลดแอกให้คนไทยหลุดพ้นจากขอม เจ้าพรหมนำกำลังทหารบุกเข้าจู่โจมขอม และประสบความสำเร็จในการยึดเมืองขอมไว้ เจ้าพรหมได้เสด็จขึ้นครองราชย์ขึ้นเป็นกษัตริย์พระนามว่า พระเจ้าพรหมแห่งเมืองเชียงแสน
 ต่อมา กษัตริย์มอญ มีประสงค์ที่จะขยายอาณาเขตจึงได้ยกทัพมาตีเมืองเชียงแสน พระเจ้าพรหมเห็นว่าข้าศึกที่ยกทัพมานั้นมีกำลังมากเกินที่จะต้านไหว ดังนั้นพระองค์จึงตัดสินใจทิ้งบ้านทิ้งเมือง และอพยพชาวเมืองมุ่งลงมาทางใต้เข้ามาชายแดนเขตเมืองกำแพงเพชรพบซากเมืองเก่า พระองค์จึงโปรดให้ซ่อมแซมเมืองแล้วขนานนามเมื่อว่า นครไตรตรึงษ์
 ว่ากันว่า พระมหากษัตริย์ครองราชย์เรื่อยมาจนถึง 3 ชั่วคน พอถึงรัชกาลที่ 3 พระเจ้าไตรตรึงษ์มีพระธิดาองค์หนึ่งที่มีหน้าตางดงามมีนามว่า อุษาพระบิดาทรงรัก และหวงแหนพระธิดามาก จึงทรงสร้างปราสาทให้พระธิดาอยู่ต่างหาก จัดหาข้าราชบริพารคอยรับใช้อยู่ตลอดเวลา
วันหนึ่งในขณะเดินเล่นในสวนพระธิดานึกอยากเสวยมะเขือขึ้นมา จึงสั่งพี่เลี้ยงไปนำมะเขือมาให้ แต่พี่เลี้ยงก็หามะเขือไม่ได้สักผลในวัง จึงอาสาออกไปหามะเขือนอกพระราชวัง ใกล้ ๆกับกำแพงพระราชวัง มีชายหนุ่มคนหนึ่งชื่อ แสนปมอาศัยอยู่ที่นั่นที่เนื้อตัวของเข้าเต็มไปด้วยปุ่มปมนับแสนนับพันแต่ว่าเขาเป็นคนขยันและ ร่าเริง เขาทำมาหากินด้วยการปลูกผักแล้วนำไปขายในเมือง
แสนปมปลูกผักชนิดต่างๆไว้มากมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งมะเขือ แต่เขามีนิสัยแปลกประหลาดคือชอบถ่ายปัสสาวะรดต้นมะเขือที่ปลูกไว้ ก็เลยทำให้ต้นมะเขืองอกงามได้อย่างแปลกประหลาดในขณะทำงานอยู่ในสวน พี่เลี้ยงของพระธิดาไปพบเข้าจึงได้ขอซื้อมะเขือของเขา หลังจากได้มะเขือแล้วพี่เลี้ยงก็กลับเข้าสู่วังแล้วนำมะเขือที่ได้ ไปให้ห้องเครื่องปรุงมาถวาย แต่หลังจากเสวยมะเขือเข้าไปแล้ว พระธิดาก็ทรงครรภ์โดยไม่ได้สมสู่กับชายใดเลย
เมื่อพระธิดาให้กำเนิดพระโอรสแล้ว พระเจ้าไตรตรึงษ์มีความต้องการที่จะหาบิดาของหลานของพระองค์ แต่ก็ต้องรอจนหลานเจริญวัยและคลานได้เสียก่อน ต่อมา พระเจ้าไตรตรึงษ์ทรงรับสั่งให้เป่าประกาศให้ทุกคนหาของมาถวายพระนัดดาของพระองค์ และทรงกล่าวว่าผู้ใดก็ตามที่เป็นบิดาของกุมารนี้ เมื่อเขาถวายสิ่งใดแก่พระกุมารขอให้พระกุมารชอบสิ่งของของผู้นั้น
ในครั้งนั้นแสนปมก็ถูกเรียกให้เข้าร่วมในพิธีด้วย แต่เขาไม่มีอะไรที่จะถวายพระกุมารเลยนอกจากข้าวสุกเพียงก้อนหนึ่งเท่านั้น แต่ก็น่าประหลาดที่พระกุมารชอบก้อนข้าวสุกของเขาเป็นพิเศษ เหตุการณ์นี้เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาของคนทั้งหลายในที่นั้น ทำให้พระเจ้าไตรตรึงษ์รู้สึกอัปยศอดสูยิ่งนัก จึงรับสั่งให้ลงโทษโดยให้นำพระธิดาและพระนัดดาไปลอยแพตามแม่น้ำพร้อมกับนายแสนปม
แต่ทันทีที่แพลอยมาถึงไร่ของนายแสนปม พระอินทร์ทรงรู้ของนายแสนปมด้วยความสงสารจึงปลอมตัวเป็นลิง แล้วเอากลองสารพัดนึกมาให้นายแสนปมหนึ่งใบ แล้วสั่งว่าหากปรารถนาสิ่งใดก็ให้ตีกลองใบนั้น แต่ให้ตั้งสัตย์อธิฐานได้เพียงสามครั้งเท่านั้นด้วยความดีใจอย่างยิ่ง นายแสนปมจึงตั้งอธิฐานขอให้ปมที่เกิดขึ้นทั่วตัวหายไป หลังจากตีกลองปมเหล่านั้นก็หายหมด เมื่อตีกลองครั้งที่สองก็ตั้งอธิฐานขอให้มีบ้านเมืองครอบครอง และเมื่อตีครั้งที่สาม ก็ขอให้ได้เปลทองคำสำหรับบุตรชายของเขาได้นอน และแล้วแสนปมก็ได้สิ่งปรารถนาทั้งสามประการนั้น
ด้วยบุญญาธิการนี้ พระโอรสก็ได้บรรทมในเปลทองคำจึงได้นามว่า อู่ทอง“แสนปมเองก็ได้เป็นกษัตริย์ทรงพระนามว่า เจ้าศิริชัยเชียงแสนครองเมืองที่เนรมิตขึ้นนั้นและตั้งชื่อเมืองว่า “เมืองเทพนครหลังจากสิ้นพระชนม์ลง เจ้าชายอู่ทองก็ขึ้นครองราชย์และปกครองอยู่เป็นเวลา 6 ปีก่อนที่จะย้ายราชธานีไปอยู่ที่อยุธยา


Religion - ด้านศาสนา



ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้สร้างวัดต่างๆ เช่น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดพุทไธสวรรย์ เมื่อปี พ.ศ. 1876 สร้างวัดป่าแก้ว เมื่อปี พ.ศ. 1900 สร้างวัดพระราม เมื่อปี พ.ศ. 1912
สมัยพระเจ้าอู่ทองนั้น มีศาสนาและความเชื่อที่ผสมผสานระหว่างพุทธศาสนา (มีทั้งหินยานและมหายาน) พราหมณ์และฮินดู รวมทั้งการนับถือผี กษัตริย์อยุธยาทรงเป็นทั้งเทวราชาและ ธรรมราชาพระเจ้าอู่ทองทรงสวรรคตเมื่อพระชนมายุได้ 55 พรรษา

Law - ด้านกฎหมาย


           ทรงประกาศใช้กฎหมาย 10 ฉบับ ในรัชสมัยของพระองค์ อันได้แก่ พระราชบัญญัติลักษณะพยาน พระราชบัญญัติลักษณะอาญาหลวง พระราชบัญญัติลักษณะรับฟ้อง พระราชบัญญัติลักษณะลักพา - พระราชบัญญัติลักษณะอาญาราษฎร์พระราชบัญญัติลักษณ์โจรพระราชบัญญัติเบ็ดเสร็จว่าด้วยที่ดิน พระราชบัญญัติลักษณะผัวเมีย - พระราชบัญญัติลักษณะผัวเมีย (อีกตอนหนึ่ง)พระราชบัญญัติลักษณะโจรว่าด้วยสมโจร 

War - การทำสงครามกับเขมร



ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 พระองค์ทรงเจริญสัมพันธไมตรีกับแว่นแคว้นต่างๆมากมาย แม้กระทั่งขอม ซึ่งก็เป็นมาด้วยดีจนกระทั่งกษัตริย์ขอมทรงสวรรคต พระราชโอรสนาม พระบรมลำพงศ์ ทรงขึ้นครองราชย์ ซึ่งพระบรมลำพงศ์ก็แปรพักตร์ไม่เป็นไมตรีดังแต่ก่อน สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 จึงมีบัญชาให้ สมเด็จพระราเมศวร ยกทัพไปตีกัมพูชาแต่ไม่สำเร็จจึงได้ให้สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 หรือ ขุนหลวงพะงั่ว ทรงยกทัพไปช่วย จึงสามารถตีเมืองนครธมแตกได้พระบรมลำพงศ์ทรงสวรรคตในศึกครั้งนี้ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 จึงแต่งตั้ง ปาสัต พระราชโอรสของพระบรมลาพงศ์เป็นกษัตริย์ขอม