สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ทรงนำลักษณะการปกครองทั้งของไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งของกรุงสุโขทัย และของขอม มาประยุกต์ใช้กับกรุงศรีอยุธยา โดยแบ่งการปกครองออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
การปกครองส่วนกลางการปกครองส่วนกลางเป็นแบบจตุสดมภ์
หมายถึงการที่พระมหากษัตริย์ได้แบ่ง หน้าที่ความรับผิดชอบออกเป็น
4 กรม คือ
1.1
กรมเวียงมีขุนเวียงเป็นหัวหน้า ทำหน้าที่ดูแลความสงบของราษฎร์
1.3
กรมคลัง มีขุนคลังเป็นหัวหน้าทำหน้าที่รับผิดชอบด้านการเงินและการต่างประเทศ
1.4
กรมนา มีขุนนาเป็นหัวหน้าทำหน้าที่ดูแลเรือกสวนไร่นาทั่ว ราชอาณาจักร
การปกครองหัวเมือง
มีกรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลาง จัดแบ่งเมืองต่างๆออกดังนี้
2.1
เมืองหน้าด่าน เป็นเมืองที่อยู่รอบเมืองหลวง มีความสำคัญในการป้องกันราชธานี
พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งพระราชวงศ์หรือเจ้านายชั้นสูงไปปกครอง
2.2
หัวเมืองชั้นใน เป็นเมืองที่อยู่ถัดจากเมืองหน้าด่านออกไป มีเจ้าเมืองปกครองอาจเป็นผู้สืบเชื้อสายจากเจ้าเมืองเดิม
หรือผู้ที่ทางเมืองหลวงแต่งตั้งไปปกครอง
2.3
หัวเมืองชั้น นอก เป็นเมืองขนาดใหญ่อยู่ห่างไกลราชธานี มีเจ้าเมืองปกครอง เจ้าเมืองส่วนใหญ่เป็นผู้สืบเชื้อสายจากเจ้าเมืองเดิม
2.4
ประเทศราช เจ้าเมืองเป็นคนท้องถิ่นปกครองกันเอง
แต่ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายพระมหากษัตริย์อยุธยาตามกำหนด
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น